เรื่องของเรื่องก็เป็นความเดิมจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว หลายๆคน(อเมริกัน) รอบตัว ก็แนะนำว่า you ควรจะไปลองพบ counselor ดูนะ ให้เค้าดูอาการหน่อยว่า "ไหวมั้ย"
บางคนก็บอกว่าเราอาจจะอยู่ใน Denial period
บางคนก็บอกว่า เราอาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองควรตื่นตระหนก
บางคนก็บอกว่า ให้ลองไปดูเผื่อเค้าจะช่วยอะไรได้
Human Resource ของบริษัทเราก็ offer link ให้เสร็จสรรพ ของบริษัทที่นี่จะมี EAP (Employee Assistance Program) คือให้เราไปปรึกษา "ฟรี" ทั้งหมด 5 ครั้งด้วยกัน ส่วนปัญหาที่ปรึกษาก็จิปาถะ จะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวก็ได้ ตัวอย่างที่เค้ายกมาก็เช่น ผ่านเหตุการณ์ช๊อกครั้งสำคัญในชีวิต เช่น คนรักจากไป พ่อแม่เสีย พ่อแม่หย่าร้างมีผลถึงลูก นอนไม่หลับ เครียดเรื่องงาน ทนเจ้านายไม่ไหว
คืออะไรก็แล้วแต่ที่คิดว่าเป็นเรื่องที่เราต้องการปรับปรุง หรือเปลี่ยนพฤติกรรม หรือแม้แต่ต้องการเพื่อนคุย เพราะบางเรื่องไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง คนที่นี่ก็แนะนำว่าให้ไปหา counselor กัน
ซึ่ง counselor ที่นี่ ไม่ใช่ จิตแพทย์ ภาษางามๆอาจเรียกได้ว่าเป็น "นักจิตวิทยา" ส่วนใหญ่ก็จบด้านจิตวิทยามา แล้วก็ต้องมี licensed ด้วย ซึ่ง counselor แตกต่างจาก Psychologist (จิตแพทย์) ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ไม่มี PhD แล้วก็ไม่สามารถจ่ายยาได้ (ประมาณยานอนหลับ ยาระงับซึมเศร้า)
ถ้าไม่เรียก นักจิตวิทยา เราว่า เรียกว่า "ที่ปรึกษา" ก็น่าจะเหมาะที่สุดแล้ว
ไอ้เราก็กึ่งบ้า กึ่งฉงน ได้ยินมาตั้งนานแล้วว่าคนอเมริกาเอะอะก็ไปหา counselor ก็อยากรู้ว่าเป็นยังไง ดูหนังมาก็เยอะ แถมรู้มาว่าปรึกษาครั้งนึงมิใช่ถูก ราคาประมาณ $100-$300 ทีเดียว ในเมื่อมีสวัสดิการให้ใช้ฟรีแล้ว ก็ได้โอกาสเสียหน่อย!
เมื่อคืนฤกษ์งามยามดี ก็ได้โอกาสทำตัวเป็น Kate Walsh เหมือนเรื่อง Private Practice ไปปรึกษา professional counselor นั่นเอง
ขั้นตอนแรกเราก็ต้องโทรเข้าเบอร์ toll free 1800 ก่อน เข้าศูนย์เพื่อแจ้งว่าเราต้องการที่ปรึกษา เค้าก็จะถามข้อมูลส่วนตัวเล็กน้อย แล้วก็หาที่ปรึกษาที่ใกล้บ้านที่สุดให้ แล้วก็ให้เบอร์และที่อยู่ติดต่อเพื่อให้เราไปนัดเวลาเอาเอง โดยให้แจ้งกับที่ปรึกษาว่าเราได้รับการ refer มาจากศูนย์นี้ (เพื่อจะไม่ต้องถูกคิดเงิน)
พอถึงวันที่นัด (เรานัดหลังเลิกงานตอนทุ่มครึ่ง) เราก็ขับไปตามที่อยู่ที่แจ้ง สถานที่ไม่ใช่คลินิค ไม่ใช่โรงพยาบาล จะว่าไปเหมือนเวลาไปบ้านหมอดูมากกว่า 555 ที่เราไปเป็นบ้านใหญ่ๆ แล้วข้างในก็ซอยเป็นหลายๆห้อง แต่ละห้องก็สำหรับ counselor แต่ละคน ที่เห็นก็อย่างต่ำ 4-5 ห้อง มี area ให้รอก่อนเข้าพบ หนังสือจิตวิทยา self help ให้อ่านรอ
Counselor ของเราชื่อว่า Sherry ก่อนไปเราได้สืบค้นประวัติเธอก่อนแล้วใน google ว่าเธอมีความเชี่ยวชาญด้านไหน เราว่าก็ตรงกับเราอยู่บ้างอะนะ เพราะเธอมีประสบการณ์ปรึกษาปัญหาครอบครัว หย่าร้าง แล้วก็ปัญหาสุขภาพจิต เช่น depression emotional disorder (อย่างหลังน่าจะตรงกับเราสุด ^^")
เค้าก็แนะนำตัว shake hand เบาๆ แล้วก็พาเราเข้าไปในห้อง หน้าตาคล้ายกับรูปด้านบนมาก (จาก google)
ก็เริ่มด้วยการกรอกประวัติส่วนตัว ชื่อนามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร ทำงานอะไร ทำงานมากี่ปีแล้ว แล้วก็มีพวกประวัติในอดีต เช่น เคยก่ออาชญากรรมมั้ย ก่อมาแล้วกี่ครั้ง อีกหน้าก็มีให้ติ๊กว่า ที่มาหามีปัญหาอะไร เช่น anger/ depression/ insomnia/ assault/ etc มาเป็นหน้า แล้วก็ให้ระบุเวลาว่ามีปัญหานี้มานานเกินหกเดือน หรือว่าน้อยกว่าหกเดือน สำหรับเราไม่ได้ใส่อะไรไป ซึ่งที่ปรึกษาของเราก็บอกว่า ให้กรอกเท่าที่อยากกรอก เท่าที่จะกรอกได้แล้วกัน ใช้เวลาประมาณสิบกว่านาที session ก็เริ่มขึ้น....
ใช้เวลาสิริรวมทั้งหมด 1 ชั่วโมง (มีนาฬิกาจับเวลา) ก็เริ่มเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั่นแหละ แล้วก็มีคุยว่า เราคาดหวังอะไรกับการมาหาครั้งนี้ เรารู้สึกยังไงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ที่เรารู้สึกได้คือ คำถามของเค้าจะเป็นไปในแง่วิเคราะห์ ว่าปัญหาทางจิตใจมันมีผลถึงร่างกายมั้ย ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ขึ้นมีอะไรเปลี่ยนไปในชีวิตบ้าง แล้วเราแก้ไขปัญหายังไง
ลักษณะของการพูดคุยคือ เราพูด 80% เค้ารับฟัง รับฟัง รับฟัง 15% และให้คำปรึกษาแบบแนะแนว 5-10% เท่านั้น การสนทนาจะออกแนวเข้าอกเข้าใจเรา ถ้าเราไม่ชอบอะไรเค้าก็จะแนว "ถูกต้อง เป็นใครก็ไม่ชอบ เป็นใครก็ต้องรู้สึกแบบเรา" อะไรประมาณนี้ จะไม่มาแนว "อย่าคิดแบบนั้นนะ เธอคิดผิดแล้ว ทำไมไม่อย่างนู้นอย่างนี้ล่ะ" จะไม่มีประโยคปฎิเสธหลุดออกจากปากเลย
ซึ่งโดยรวมเราว่าก็ดีมากนะ สำหรับคนอเมริกาที่เป็นสังคมค่อนข้างปิด ไม่ค่อยมีคนให้พูดคุยด้วย หลายๆคนคงมีปัญหา (เช่นที่ทำงาน) ต้องการคนรับฟัง ต้องการที่ปรึกษาที่เข้าอกเข้าใจเรา ช่วยให้ระบายคล้ายเซโรงัง??? ที่ปรึกษาเราก็เล่าให้ฟังเหมือนกัน ว่าเค้าก็มีคู่แต่งงานที่มีปัญหามาปรึกษา หรือแม้แต่แนวหนักๆ เช่น คนที่เคยถูกข่มขืนมา ก็เคยเป็นที่ปรึกษามาแล้ว
ที่ฮาคือ เค้าบอกว่า จริงๆ เราก็ไม่ต่างจากพวกที่โดนข่มขืนนะ เพียงแต่เราไม่ได้โดนจริงๆ แต่ความรู้สึกที่ผ่านพ้นเหตุการณ์ก็เรียกได้ว่าแบบเดียวกันนั่นแหละ เค้าบอกว่านี่มันเป็น Significant life event มากๆ และ serious มาก
หลายๆอย่างก็เป็นสิ่งที่เค้าพูดแล้วนึกไม่ถึงเหมือนกัน เช่นการที่เราโดนบุกเข้ามาถึงห้องนอน สำหรับเค้ามันคือการที่ โดนบุกรุกพื้นที่ส่วนตัว ที่ปกติเรารู้สึกปลอดภัยที่สุด (เพราะเวลาที่คนเรานอน ถ้านอนหลับได้ สถานที่นั้นต้องปลอดภัย และเรามีความมั่นใจกับจุดนั้น) แต่พอโดนเข้าถึงขนาดนี้ แล้วยังเป็น life threatening บวกกึ่ง sexual assault มันทำให้เราอาจจะหวาดผวาได้
ก็มี 2 terms ที่ได้มาจากการคุย ดูเหมือนเราจะมีอาการ
1) Hypervigilance เรียกว่าตื่นตัวเกินเหตุ เช็คนู่นนี่เพื่อให้มั่นใจมากกว่าเดิมหลายเท่า
Hypervigilance is an enhanced state of sensory sensitivity accompanied by an exaggerated intensity of behaviors whose purpose is to detect threats. Hypervigilance is also accompanied by a state of increased anxiety which can cause exhaustion. (http://en.wikipedia.org/wiki/Hypervigilance)
ซึ่งเค้าก็บอกว่าอาการนี้ก็ควรเกิดเป็นปกติ สำหรับคนที่ผ่านอะไรแบบนี้มา ร่างกายก็ต้องมีระบบป้องกัน(เว่อร์) เพื่อเตรียมตัวสำหรับเหตุการร์ที่อนุมานว่าอาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
2) Disassociation
Dissociation is a term in psychology describing a wide array of experiences from mild detachment from immediate surroundings to more severe detachment from physical and emotional reality. (http://en.wikipedia.org/wiki/Disassociation)
เป็นอาการของ thinking process ที่พยายามคิดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ได้เกิดตรงหน้า
ที่ว่ามาก็คือไม่ได้หมายความว่าเราเป็นนะ เพราะโดยรวมเค้าก็ประเมินว่าเรา ปกติดี (เย้) เพียงแต่อาการพวกนี้ถ้า observe ดูแล้วเป็นหนัก หรือไม่หายซักที ก็ให้สำเนียกไว้ว่าอาจจะมีปัญหาทางจิตในภายหลังได้
โดยรวมหลังหนึ่งชั่วโมงก็จบการปรึกษากับ Professional counselor เป็นครั้งแรกไปด้วยดี
เป็นอันว่า been there done that US life Experience แล้ว ^^"
ทั้งการ call 911 แล้วก็ปรึกษา counselor ใช้สวัสดิการออฟฟิศ ครบทุกกกกอย่างเลยย
ต่อจากนี้ก็คงใช้ชีวิตปกติล่ะนะ panic บ้างก็้คงไม่แปลกอะไร มันคงต้องใช้เวลา
session ต่อไปจะมีมั้ยก็แล้วแต่อารมณ์ :)
No comments:
Post a Comment