ที่นี่จะระมัดระวังเรื่องการถามคำถาม "โชว์โง่" กันมาก เพราะถือว่าเป็น Ego ส่วนบุคคล
แล้วเด็กๆ ก็จะทำหน้าหงุดหงิดกันมากเวลาที่คนปีก่อนๆ document ไว้ไม่พอแล้วโดนลูกค้าตอกกลับ ส่วนเมืองไทย เราก็เข้าอกเข้าใจอนุชนคนรุ่นก่อนกันดีอะนะ ว่าเวลาตรวจก็แทบไม่มีแล้ว ถ้าจะให้อธิบาย สาธยาย (เป็นภาษาอังกฤษ) อีก เห็นทีคงนอนหกโมงเช้าทุกวัน
เราก็เลยได้รับ Feedback มาว่า ยังทำงานได้ไม่เทียบเท่ามาตรฐานเด็กอเมริกาในแง่การจดและบอกเล่ารายละเอียด (ซึ่งเป็น skill ด้าน ฟัง และ เขียนเลยล่ะ) ก็ก้มหน้าก้มตายอมรับไป
ผ่านมาเจ็ดเดือนใช่ว่าจะไม่พัฒนานะ ตอนแรกๆ ก็ได้แต่ทำ tickmark นู่นนี่เหมือนที่เมืองไทยแหละ
แต่พอเวลาผ่านไป จากที่เคยอธิบายบรรทัดสองบรรทัด ตอนนี้เริ่มกลายเป็นครึ่งหน้าละ แต่ก็ยังแอบคิดอยู่บ่อยๆ ว่าสิ่งเหล่านี้พอกลับเมืองไทยมันจะทำได้จริงๆเหรอ ?? ถ้าเอาวัฒนธรรมการ document แบบผักบุ้งไปปล่อยที่เมืองไทยอะไรจะเกิดขึ้น??
ข้อดี
- พัฒนาคุณภาพในการให้บริการลูกค้า ถ้าเราเขียนอธิบายเยอะๆ ลูกค้าก็ไม่ต้องมาคอย rerun ทุกครั้ง เวลา update process ใหม่ๆ หลายๆจ๊อบที่นี่ก็แค่ส่ง narrative ให้ลูกค้าอ่านและแก้ไขเพิ่มเติมเป็นอันเสร็จ ไม่ต้องเสียเวลา walkthrough ใหม่ให้มากมาย
-ประหยัดเวลาให้กับ engagement team ในปีถัดไป เพราะน้องๆที่มาทำงานชิ้นนี้แทน ก็จะได้อ่าน ปิดตา เห็นภาพกันเลยทีเดียว ว่าบริษัทนี้ วงจรนี้ทำอะไรยังไง ต้องตรวจสอบโดยเอาเอกสารจากใคร มาคำนวณยังไงบ้าง
ข้อเสีย
- ใช้เวลากระจายยยย ลอง plot formula คร่าวๆดูนะ
Native English Speaker ใช้เวลา Document 1 หน้ากระดาษา ประมาณ 30 นาที (สมมติ)
เด็กจากหลักสูตร Inter' แบบเรา หรือเด็กที่ภาษาดีพอควร จะใช้เวลาประมาณ 50 นาที
เด็กไทย ที่ภาษาอังกฤษ กระท่อนกระแท่น แกรมม่าก็ยังงงๆ ศัพท์ก็ยังนึกไม่ค่อยออก .....รวมแก้ ถามเพื่อน เปิดดิก เราว่าอย่างต่ำต้องใช้เวลาเป็นสองเท่าของเจ้าของภาษานะ (นึกถึงตอนเราเขียนพวก Resume/ essay ดูก็ได้ ว่าต้องใช้เวลามากขนาดไหน)
แถมคุณภาพออกมาก็ใช่ว่า "เป๊ะอะ" ก็เพราะเราไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนี่นา ... แล้วเวลา manager มารีวิวล่ะ ? Manager หลายๆ คนก็กระท่อนกระแท่นเหมือนกันแหละ เพราะ manager ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาเหมือนกัน (ว่ากันตามจริง) อ่านๆ ไปก็จะงงๆ (ไม่รู้คนเขียนงง หรือคนอ่านงง) แก้ผิดแก้ถูกกันไป เวลาที่อ่าน และแก้ ก็ต้องใช้มากกว่าการทำงานระหว่าง เจ้าของภาษา vs เจ้าของภาษาอยู่แล้ว
- จำนวนชั่วโมงที่ให้ต่อ engagement เป็นที่รู้กันดีว่าใน firm BIG4 โดยเฉลี่ยแล้วเราใช้เวลาตรวจกัน 2-4 อาทิตย์ สำหรับบริษัทขนาดย่อมๆ มี in-charge 1 คน เด็กน้อย 1-2 คน ซึ่ง 2-4 อาทิตย์นี่ก็แล้วแต่ว่ารวม ทดสอบระบบด้วยรึเปล่า
ถ้าเป็นการตรวจ year-end อย่างเดียว ก็มักจะได้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ รวมออกงบ และทุกอย่างในโลกนี้แล้ว!!! พระเจ้า ก็เคยคิดว่ามันหนักนะ แต่พอได้มาทำงานที่นี่แล้วมองกลับไป เราว่าที่เราเคยทำ (หรือทีน้องๆทำอยู่) มันโคตรรรรรหนักเลย (T__T) ยิ่งคิดก็ยิ่งน้ำตาตกใน คิดถึงเมืองไทยแล้วก็สงสารน้องๆอะ
จ๊อบขนาดเดียวกันกับที่เมืองไทย ถ้าอยู่ที่นี่จะได้เวลาเพิ่มเป็นสองเท่า! จ๊อบเล็กๆ ส่วนใหญ่ YE ได้เวลาสามอาทิตย์ ถ้ารวมทดสอบระบบด้วย ก็ได้เดือนกว่าๆเลย
แล้วคุณภาพที่ได้ต่างกันมั้ย ก็ต้องบอกว่า มันก็ต้องแปรผันตามกับเวลาที่ได้ เด็กๆที่นี่ก็มีเวลามากกว่าในการ complete Audit program แล้วก็ document ได้มากกว่า สามารถทำทุกอย่างให้จบในตัวได้ โดยที่ไม่ต้องถูกตาม ไปทำงานเก่า แล้วกินเวลางานใหม่ (เท่าไหร่นัก) อะแหมม มันก็มีบ้างอะนะ แต่ไม่เยอะ
สรุปเรื่องเวลาที่ให้ใน engagement มีปัญหากับการวางแผนเป็นอย่างมาก
แล้วจะแก้ไขอย่างไร? ต้องถามว่าปัญหามันเกิดจากอะไรล่ะ?
เริ่มจากท่อน้ำเลี้ยงของบริษัทเลย คือ ---ค่าบริการทางวิชาชีพ ซึ่งเกิดมาจากพื้นฐานความต้องการ Supply-Demand
ส่วนใหญ่แล้วที่อเมริกา เฟิร์มจะได้ค่า fee เยอะมาก เพราะตามกฎหมายแล้ว บริษัทจำกัดทั่วไปไม่ต้องใช้ audit ในการตรวจ ในขณะที่เมืองไทย หรือสิงคโปร์ ถ้ามีสภาพเป็นบริษัทจำกัด มีรายได้กระจ๊อยนึง ก็ต้องจ้าง CPA มาตรวจแล้ว
ที่อเมริกาบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (SEC) รวมถึง insurance , brokerage firms เท่านั้นที่จำเป็นต้องจ้าง CPA โดยเฉพาะ Big4 ที่มีกำลังคน และความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอ ผลคือ
1) ค่า Fee ที่ได้ก็สูงตามขนาดบริษัท เพราะกว่าจะเป็น listed ใหญ่โตในตลาดหลักทรัพย์อเมริกาได้ ก็ต้องมีระบบนู่นนั่นนี
2) ขยาย service ได้ง่าย ที่อเมริกา เห็นได้ชัดเลยว่า IRM / Tax/ Actuary/ Valuator ทำงานกันเป็นปกติ แบบคู่ขนานกับ audit มากๆ เรียกว่ารวมเหมาใน package ก็ว่าได้ Financial audit เองไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องการรีวิว tax (ที่เรามักจะไม่เชี่ยวชาญ) ไม่ต้องคำนึงถึงการประเมินราคาหลักทรัพย์ การคำนวณ hedging หรือเรื่องที่ซับซ้อน เพราะทุกส่วนจะมีคนที่เชี่ยวชาญด้านนั้นจัดการให้ทั้งหมด
3) ทีมใหญ่ อยู่นาน เด็กๆที่ทำจ๊อบ Listed ส่วนใหญ่ก็เรียกว่าอยู่กันทั้งปีทั้งชาติ มีโต๊ะส่วนตัวเสมือนเป็นพนักงานประจำเลยทีเดียว โดยเฉลี่ยที่เราเคยเห็นแพลน ถ้าเป็นจ๊อบที่ตรวจ quarter ด้วย ก็จะใช้เวลา 1600-1800 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับ target chargeability ของบริษัทเลยทีเดียว แปลว่าเด็กๆแทบไม่ต้องไปทำจ๊อบอื่น ทุ่มเทเวลาให้ได้เต็มที่ แล้วก็มีความต่อเนื่องของงานสูงกว่ามาก
4) Partner อุ่นใจ เวลาไปจ๊อบใหญ่ๆ เรามักจะถาม partner ว่า ท่านๆ มีจ๊อบในมือเท่าไร คำตอบตรงกันคือ ถ้าได้จ๊อบ listed ใหญ่ๆ แล้ว ก็มีไม่เกิน 3-4 jobs ต่อปี partner จะมานั่งที่ออฟฟิศลูกค้า ทำงานกับเด็กๆ ให้เห็นหน้ากันตลอด เพราะฉะนั้น ความสัมพันธ์ก็ใกล้ชิดกว่ามาก partner ช่วยในการพูดคุย project management (ทำให้ลูกค้าเกรงใจนิดๆ) และช่วยตัดสินปัญหาเล็กๆน้อยๆ ได้เร็วขึ้น
ส่วน manager ไม่ต้องพูดถึง แทบจะอยู่แบบร่วมหอลงโรงตลอดเวลา ที่เห็น manager ของจ๊อบใหญ่ๆที่นี่ ถึงขั้นลงมือลงแรงช่วย analyze ทำ section ที่ยากๆไปด้วย เพราะหลายๆครั้งเวลาที่ต้องติดต่อลูกค้าที่เป็นผู้บริหารสูงๆ เอาเด็กๆไปถามว่าทำไมคชจ รายได้ เพิ่มขึ้นลดลง ก็ดูไม่ค่อยเหมาะ (ถึงจะเป็นปกติของที่นี่ ที่เด็กๆ ก็คุยกับ CEO/ CFO ได้แบบไม่มีใครถือว่าใครเป็นผู้ใหญ่กว่า) ด้วยความที่ manager ก็ไม่ต้องวิ่งไปทำจ๊อบอื่น ก็มีเวลาทุ่มเท ช่วยเด็กๆ ตัดสินใจ ออกความเห็นนู่นนี่ได้มากขึ้น
อันนี้เป็นสิ่งที่เห็นคร่าวๆนะ ยังไม่รวมถึงสไตล์การทำงาน การวางแผนการตรวจสอบ การประชุม ฯลฯ ที่มีความต่างกันค่อนข้างมากระหว่างวัฒนธรรมการทำงานที่เมืองไทย กับที่อเมริกามากทีเดียว
Tuesday, April 17, 2012
Thai vs American working culture episode 1 เกริ่นนำ
วันนี้มาหัวข้อหน้าที่การงานกันนิดนึง
ผ่านการ training มาก็เยอะ เรื่องการให้ Feedback และรับ Feedback
มาอยู่ที่นี่กลับมาเป็น Senior เลยเน้นที่การ "รับ" Feedback ซะส่วนใหญ่
ที่นี่ค่อนข้างดีในแง่ของการตามล้างตามเช็ดให้เราส่ง Engagement review
ตามกฎแล้วเวลาที่เราทำงานจ๊อบลูกค้าที่ไหนเสร็จ ก็ควรจะต้องมีการตามประเมินผลด้วยตัวเอง (Self Assessment) ภายในสองอาทิตย์ ซึ่ง policy นี้ก็เหมือนๆกับที่เมืองไทยนั่นล่ะ
แต่เอาเข้าจริง ไม่ว่าที่เมืองไทย หรือที่นี่ ก็หาได้น้อยคนมากที่ทำตามเวลาที่เค้าบอกเป๊ะๆ
บริษัทก็ช่วยพนักงานแบบกดดันสุดๆ โดยการส่งเมลมาวันเว้นวัน ลิสต์ชื่อว่าใครยังทำไมเสร็จ เท่านี้ยังไม่พอ มีการส่งเมลจิก manager ด้วย สรุปลิสต์ออกมาว่าเด็กๆในจ๊อบคนไหนที่ยังไม่ได้ส่ง
วันดีคืนดี เราก็จะได้อีเมลจาก manager ตามจิกให้ทำ พอได้รับแบบนี้แล้ว เด็กน้อยอย่างเราก็ย่อมรีบทำ (แบบเสียไม่ได้) :p
เวลาที่เราประเมินผลตัวเองส่วนใหญ่ก็ประเมินแบบเบสิคทั่วไป คือให้ดีแบบมาตรฐาน และแอบมีให้สูงกว่ามาตรฐานบ้าง คิดเอาเองว่าส่วนใหญ่ manager คงปัดตกเล็กน้อย
อันที่จริงคงที่เพอร์เฟคจริงๆ ก็คงต้องมีอยู่นั่นแหละ แต่จุดหนึ่งที่รู้ว่าไม่ใช่ ตัวเราแน่นอน เนื่องจาก
1) แค่ภาษาที่ใช้ในการสื่่อสารในทีม และกับลูกค้า ก็เทียบกับเด็กอเมริกาปกติไม่ได้แล้ว อันนี้ก็เข้าใจ แต่ก็แอบน้อยใจนิดนึงนะ ที่มันก็ต้องรวมอยู่ในการประเมินผลด้วย
2) มาตรฐานการทำงานที่ต่างกัน อย่างที่นี่จะเน้น document มากๆ บางทีก็อธิบายสากกระเบือยันเรือรบ น้ำท่วมทุ่ง (บางทีก็ผักบุ้งโหรงเหรง หรือบางทีก็มีประโยชน์กับคนที่มาอ่านจริงๆนะ) คือโดยรวมก็ถือเป็นเรื่องดีที่ต้องมีการ document เยอะขนาดนั้น เพราะมันก็เป็นเรื่องของกฎหมาย (เวลาที่ถูกตรวจสอบก็มีหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอน ว่าทาง audit ได้ตรวจนู้นนั้นนี้พอเพียงแล้วนะ) หรือว่าสำหรับคนรุ่นหลัง ที่มาทำงานชิ้นนี้ต่อ ก็จะได้ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปนั่งถามลูกค้าใหม่ทุกครั้ง (ซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิคที่เมืองไทย เรื่องลูกค้าชอบบ่นว่า audit ไม่มีการเตรียมตัว พอเปลี่ยนทีมก็ถามซ้ำๆกันตลอดเวลา)
พอพูดถึงมาตรฐานที่ต่างกันเนี่ยล่ะ เลยเป็นที่มาของหัวข้อ blog นี้
ว่าแล้วก็ได้เวลาเปรียบเทียบกันซักที (จากมุมมองกระเหรี่ยงแบบเรา)
ข้อทำความเข้าใจแบบเป็น Ground Rule ก่อนนะว่า
1 มันไม่มีอะไรตายตัวแน่นอน สิ่งที่เราจะเล่าสู่กันฟังนี้ ขอให้นึกไว้ว่า เป็นเรื่อง "โดยรวม" ไม่ใช่ "เหมารวม" ถ้าวัดตามค่าสถิติก็อาจจะ 60-80% ที่เป็นไปตามที่เราพูด แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งที่จะเล่าต่อจากนี้ เป็นสัจจนิรันดร์ของสไตล์การทำงานที่นี่ หรือที่เมืองไทย (ศัพท์หรูปะ) อิอิ
2 มันมาจากความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า "เท่านั้น" ถ้าหากใครคิดเห็นไม่เหมือนกันก็แชร์กันได้ มันเกิดมาจากประสบการณ์การเทียบเคียงจริงของเรา ในช่วงที่ทำงานเมืองไทยกับที่นี่ แน่นอน ประสบการณ์ร้ายดีของแต่ละคน ด้วยเวลา และโอกาส ย่อมแตกต่างกันไม่มากก็น้อย
3 อย่าลืมว่าในทุกค่าสถิตินั้น มันมี Outlier แฝงอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่เข้าข่าย Outlier เช่น คนอื่นๆเค้ากินแล้วอ้วนเอาๆ แต่คุณกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน (เปรียบเปรย) ก็ขอแสดงความนับถือ ซูฮกในความโชคดีของคุณแล้วกันนะ แต่เราจะขอข้ามพวก outlier พวกนี้ เพราะเราจะพูดในแง่ ถัวๆ (ปนมั่ว) เท่านั้น
4 สิ่งที่พูดถึงนี้คือชีิวิตออดิท ท่านใดที่อยู่นอกวงการผ่านมา ก็ขอให้ระลึกว่า นี่คือชีวิตของชนกลุ่มน้อยเท่านั้น อาจมีคิดชื่นชม สงสาร หรืออึ้ง ทึ่ง งงอยู่ในใจ ขอความกรุณาใช้วิจารณญาณในการรับชม
อย่าเอาไปเหมาว่า แฟนฝรั่งที่ดูใจกันอยู่จะเป็นแบบนี้ อย่าเอาไปเหมาว่าผู้บริหารต่างชาติของท่านจะเข้าลักษณะนี้ ขอให้อ่านเพื่อประสบการณ์แนว "รู้ไว้อะ" แล้วกันนะกร๊ะ
กฎบ้าๆบอๆ ของเราก็จบแล้ว
แล้วไว้จะเริ่มเรื่อง การ document งาน เป็นเรื่องแรกแล้วกันนะ
(ใครอยากรู้ว่าที่เมืองไทย กับที่อเมริกาต่างกันตรงไหนอีก ลอง comment มาแล้วกัน ถ้านึกออกจะสอดแทรกไปด้วย)
ผ่านการ training มาก็เยอะ เรื่องการให้ Feedback และรับ Feedback
มาอยู่ที่นี่กลับมาเป็น Senior เลยเน้นที่การ "รับ" Feedback ซะส่วนใหญ่
ที่นี่ค่อนข้างดีในแง่ของการตามล้างตามเช็ดให้เราส่ง Engagement review
ตามกฎแล้วเวลาที่เราทำงานจ๊อบลูกค้าที่ไหนเสร็จ ก็ควรจะต้องมีการตามประเมินผลด้วยตัวเอง (Self Assessment) ภายในสองอาทิตย์ ซึ่ง policy นี้ก็เหมือนๆกับที่เมืองไทยนั่นล่ะ
แต่เอาเข้าจริง ไม่ว่าที่เมืองไทย หรือที่นี่ ก็หาได้น้อยคนมากที่ทำตามเวลาที่เค้าบอกเป๊ะๆ
บริษัทก็ช่วยพนักงานแบบกดดันสุดๆ โดยการส่งเมลมาวันเว้นวัน ลิสต์ชื่อว่าใครยังทำไมเสร็จ เท่านี้ยังไม่พอ มีการส่งเมลจิก manager ด้วย สรุปลิสต์ออกมาว่าเด็กๆในจ๊อบคนไหนที่ยังไม่ได้ส่ง
วันดีคืนดี เราก็จะได้อีเมลจาก manager ตามจิกให้ทำ พอได้รับแบบนี้แล้ว เด็กน้อยอย่างเราก็ย่อมรีบทำ (แบบเสียไม่ได้) :p
เวลาที่เราประเมินผลตัวเองส่วนใหญ่ก็ประเมินแบบเบสิคทั่วไป คือให้ดีแบบมาตรฐาน และแอบมีให้สูงกว่ามาตรฐานบ้าง คิดเอาเองว่าส่วนใหญ่ manager คงปัดตกเล็กน้อย
อันที่จริงคงที่เพอร์เฟคจริงๆ ก็คงต้องมีอยู่นั่นแหละ แต่จุดหนึ่งที่รู้ว่าไม่ใช่ ตัวเราแน่นอน เนื่องจาก
1) แค่ภาษาที่ใช้ในการสื่่อสารในทีม และกับลูกค้า ก็เทียบกับเด็กอเมริกาปกติไม่ได้แล้ว อันนี้ก็เข้าใจ แต่ก็แอบน้อยใจนิดนึงนะ ที่มันก็ต้องรวมอยู่ในการประเมินผลด้วย
2) มาตรฐานการทำงานที่ต่างกัน อย่างที่นี่จะเน้น document มากๆ บางทีก็อธิบายสากกระเบือยันเรือรบ น้ำท่วมทุ่ง (บางทีก็ผักบุ้งโหรงเหรง หรือบางทีก็มีประโยชน์กับคนที่มาอ่านจริงๆนะ) คือโดยรวมก็ถือเป็นเรื่องดีที่ต้องมีการ document เยอะขนาดนั้น เพราะมันก็เป็นเรื่องของกฎหมาย (เวลาที่ถูกตรวจสอบก็มีหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอน ว่าทาง audit ได้ตรวจนู้นนั้นนี้พอเพียงแล้วนะ) หรือว่าสำหรับคนรุ่นหลัง ที่มาทำงานชิ้นนี้ต่อ ก็จะได้ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปนั่งถามลูกค้าใหม่ทุกครั้ง (ซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิคที่เมืองไทย เรื่องลูกค้าชอบบ่นว่า audit ไม่มีการเตรียมตัว พอเปลี่ยนทีมก็ถามซ้ำๆกันตลอดเวลา)
พอพูดถึงมาตรฐานที่ต่างกันเนี่ยล่ะ เลยเป็นที่มาของหัวข้อ blog นี้
ว่าแล้วก็ได้เวลาเปรียบเทียบกันซักที (จากมุมมองกระเหรี่ยงแบบเรา)
ข้อทำความเข้าใจแบบเป็น Ground Rule ก่อนนะว่า
1 มันไม่มีอะไรตายตัวแน่นอน สิ่งที่เราจะเล่าสู่กันฟังนี้ ขอให้นึกไว้ว่า เป็นเรื่อง "โดยรวม" ไม่ใช่ "เหมารวม" ถ้าวัดตามค่าสถิติก็อาจจะ 60-80% ที่เป็นไปตามที่เราพูด แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งที่จะเล่าต่อจากนี้ เป็นสัจจนิรันดร์ของสไตล์การทำงานที่นี่ หรือที่เมืองไทย (ศัพท์หรูปะ) อิอิ
2 มันมาจากความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า "เท่านั้น" ถ้าหากใครคิดเห็นไม่เหมือนกันก็แชร์กันได้ มันเกิดมาจากประสบการณ์การเทียบเคียงจริงของเรา ในช่วงที่ทำงานเมืองไทยกับที่นี่ แน่นอน ประสบการณ์ร้ายดีของแต่ละคน ด้วยเวลา และโอกาส ย่อมแตกต่างกันไม่มากก็น้อย
3 อย่าลืมว่าในทุกค่าสถิตินั้น มันมี Outlier แฝงอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่เข้าข่าย Outlier เช่น คนอื่นๆเค้ากินแล้วอ้วนเอาๆ แต่คุณกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน (เปรียบเปรย) ก็ขอแสดงความนับถือ ซูฮกในความโชคดีของคุณแล้วกันนะ แต่เราจะขอข้ามพวก outlier พวกนี้ เพราะเราจะพูดในแง่ ถัวๆ (ปนมั่ว) เท่านั้น
4 สิ่งที่พูดถึงนี้คือชีิวิตออดิท ท่านใดที่อยู่นอกวงการผ่านมา ก็ขอให้ระลึกว่า นี่คือชีวิตของชนกลุ่มน้อยเท่านั้น อาจมีคิดชื่นชม สงสาร หรืออึ้ง ทึ่ง งงอยู่ในใจ ขอความกรุณาใช้วิจารณญาณในการรับชม
อย่าเอาไปเหมาว่า แฟนฝรั่งที่ดูใจกันอยู่จะเป็นแบบนี้ อย่าเอาไปเหมาว่าผู้บริหารต่างชาติของท่านจะเข้าลักษณะนี้ ขอให้อ่านเพื่อประสบการณ์แนว "รู้ไว้อะ" แล้วกันนะกร๊ะ
กฎบ้าๆบอๆ ของเราก็จบแล้ว
แล้วไว้จะเริ่มเรื่อง การ document งาน เป็นเรื่องแรกแล้วกันนะ
(ใครอยากรู้ว่าที่เมืองไทย กับที่อเมริกาต่างกันตรงไหนอีก ลอง comment มาแล้วกัน ถ้านึกออกจะสอดแทรกไปด้วย)
Subscribe to:
Posts (Atom)