วันนี้มาหัวข้อหน้าที่การงานกันนิดนึง
ผ่านการ training มาก็เยอะ เรื่องการให้ Feedback และรับ Feedback
มาอยู่ที่นี่กลับมาเป็น Senior เลยเน้นที่การ "รับ" Feedback ซะส่วนใหญ่
ที่นี่ค่อนข้างดีในแง่ของการตามล้างตามเช็ดให้เราส่ง Engagement review
ตามกฎแล้วเวลาที่เราทำงานจ๊อบลูกค้าที่ไหนเสร็จ ก็ควรจะต้องมีการตามประเมินผลด้วยตัวเอง (Self Assessment) ภายในสองอาทิตย์ ซึ่ง policy นี้ก็เหมือนๆกับที่เมืองไทยนั่นล่ะ
แต่เอาเข้าจริง ไม่ว่าที่เมืองไทย หรือที่นี่ ก็หาได้น้อยคนมากที่ทำตามเวลาที่เค้าบอกเป๊ะๆ
บริษัทก็ช่วยพนักงานแบบกดดันสุดๆ โดยการส่งเมลมาวันเว้นวัน ลิสต์ชื่อว่าใครยังทำไมเสร็จ เท่านี้ยังไม่พอ มีการส่งเมลจิก manager ด้วย สรุปลิสต์ออกมาว่าเด็กๆในจ๊อบคนไหนที่ยังไม่ได้ส่ง
วันดีคืนดี เราก็จะได้อีเมลจาก manager ตามจิกให้ทำ พอได้รับแบบนี้แล้ว เด็กน้อยอย่างเราก็ย่อมรีบทำ (แบบเสียไม่ได้) :p
เวลาที่เราประเมินผลตัวเองส่วนใหญ่ก็ประเมินแบบเบสิคทั่วไป คือให้ดีแบบมาตรฐาน และแอบมีให้สูงกว่ามาตรฐานบ้าง คิดเอาเองว่าส่วนใหญ่ manager คงปัดตกเล็กน้อย
อันที่จริงคงที่เพอร์เฟคจริงๆ ก็คงต้องมีอยู่นั่นแหละ แต่จุดหนึ่งที่รู้ว่าไม่ใช่ ตัวเราแน่นอน เนื่องจาก
1) แค่ภาษาที่ใช้ในการสื่่อสารในทีม และกับลูกค้า ก็เทียบกับเด็กอเมริกาปกติไม่ได้แล้ว อันนี้ก็เข้าใจ แต่ก็แอบน้อยใจนิดนึงนะ ที่มันก็ต้องรวมอยู่ในการประเมินผลด้วย
2) มาตรฐานการทำงานที่ต่างกัน อย่างที่นี่จะเน้น document มากๆ บางทีก็อธิบายสากกระเบือยันเรือรบ น้ำท่วมทุ่ง (บางทีก็ผักบุ้งโหรงเหรง หรือบางทีก็มีประโยชน์กับคนที่มาอ่านจริงๆนะ) คือโดยรวมก็ถือเป็นเรื่องดีที่ต้องมีการ document เยอะขนาดนั้น เพราะมันก็เป็นเรื่องของกฎหมาย (เวลาที่ถูกตรวจสอบก็มีหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอน ว่าทาง audit ได้ตรวจนู้นนั้นนี้พอเพียงแล้วนะ) หรือว่าสำหรับคนรุ่นหลัง ที่มาทำงานชิ้นนี้ต่อ ก็จะได้ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปนั่งถามลูกค้าใหม่ทุกครั้ง (ซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิคที่เมืองไทย เรื่องลูกค้าชอบบ่นว่า audit ไม่มีการเตรียมตัว พอเปลี่ยนทีมก็ถามซ้ำๆกันตลอดเวลา)
พอพูดถึงมาตรฐานที่ต่างกันเนี่ยล่ะ เลยเป็นที่มาของหัวข้อ blog นี้
ว่าแล้วก็ได้เวลาเปรียบเทียบกันซักที (จากมุมมองกระเหรี่ยงแบบเรา)
ข้อทำความเข้าใจแบบเป็น Ground Rule ก่อนนะว่า
1 มันไม่มีอะไรตายตัวแน่นอน สิ่งที่เราจะเล่าสู่กันฟังนี้ ขอให้นึกไว้ว่า เป็นเรื่อง "โดยรวม" ไม่ใช่ "เหมารวม" ถ้าวัดตามค่าสถิติก็อาจจะ 60-80% ที่เป็นไปตามที่เราพูด แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งที่จะเล่าต่อจากนี้ เป็นสัจจนิรันดร์ของสไตล์การทำงานที่นี่ หรือที่เมืองไทย (ศัพท์หรูปะ) อิอิ
2 มันมาจากความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า "เท่านั้น" ถ้าหากใครคิดเห็นไม่เหมือนกันก็แชร์กันได้ มันเกิดมาจากประสบการณ์การเทียบเคียงจริงของเรา ในช่วงที่ทำงานเมืองไทยกับที่นี่ แน่นอน ประสบการณ์ร้ายดีของแต่ละคน ด้วยเวลา และโอกาส ย่อมแตกต่างกันไม่มากก็น้อย
3 อย่าลืมว่าในทุกค่าสถิตินั้น มันมี Outlier แฝงอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่เข้าข่าย Outlier เช่น คนอื่นๆเค้ากินแล้วอ้วนเอาๆ แต่คุณกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน (เปรียบเปรย) ก็ขอแสดงความนับถือ ซูฮกในความโชคดีของคุณแล้วกันนะ แต่เราจะขอข้ามพวก outlier พวกนี้ เพราะเราจะพูดในแง่ ถัวๆ (ปนมั่ว) เท่านั้น
4 สิ่งที่พูดถึงนี้คือชีิวิตออดิท ท่านใดที่อยู่นอกวงการผ่านมา ก็ขอให้ระลึกว่า นี่คือชีวิตของชนกลุ่มน้อยเท่านั้น อาจมีคิดชื่นชม สงสาร หรืออึ้ง ทึ่ง งงอยู่ในใจ ขอความกรุณาใช้วิจารณญาณในการรับชม
อย่าเอาไปเหมาว่า แฟนฝรั่งที่ดูใจกันอยู่จะเป็นแบบนี้ อย่าเอาไปเหมาว่าผู้บริหารต่างชาติของท่านจะเข้าลักษณะนี้ ขอให้อ่านเพื่อประสบการณ์แนว "รู้ไว้อะ" แล้วกันนะกร๊ะ
กฎบ้าๆบอๆ ของเราก็จบแล้ว
แล้วไว้จะเริ่มเรื่อง การ document งาน เป็นเรื่องแรกแล้วกันนะ
(ใครอยากรู้ว่าที่เมืองไทย กับที่อเมริกาต่างกันตรงไหนอีก ลอง comment มาแล้วกัน ถ้านึกออกจะสอดแทรกไปด้วย)
No comments:
Post a Comment